Tuesday, July 13, 2010

ธรณีวิทยาของอ่าวไทย (The Gulf of Thailand)

ธรณีวิทยาของอ่าวไทย (The Gulf of Thailand)
สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมขอเขียนบล็อกเรื่อง The Gulf of Thailand นะครับ พอดีเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่แล้ว
ผมมีโอกาสได้เข้าสัมภาษณ์ Coop กับบริษัท Chevron แล้วเค้าก็ถามเกี่ยวกับ The Gulf of Thialand ครับ
แต่ผมก็ตอบไม่ได้ ก็เลยมาหาข้อมูล แล้วขอบอกต่อไว้ประดับความรู้กับเำพื่อนๆ แล้วกันนะครับ ^^

1. ลักษณะภูมิประเทศและภูมิสัณฐาน บริเวณอ่าวไทย (The Gulf of Thailand)
    อ่าวไทยหมายถึงบริเวณทะเลด้านตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งเปิดไปสู่ทะเลจีนใต้ ขอบเขตของอ่าวไทยตอนบนต่อเนื่องกับดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาของ ที่ราบลุ่มภาคกลาง และชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ทิศตะวันตกติดต่อกับชายฝั่งทะเลภาคใต้ ส่วนทิศตะวันออกและทิศใต้ติดต่อเขตกับน่านน้ำของประเทศกัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยมีเขตน่านน้ำห่างจากฝั่งทะเลของแต่ละประเทศ 12 ไมล์ทะเล
     Pradidtan and Dook (1992) กล่าวถึง การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ว่าลักษณะภูมิประเทศของท้องทะเลในอ่าวไทยไม่ราบเรียบ แต่มีสัน (ridges) และแอ่ง (basins) มากมาย สันและแอ่งเหล่านี้วางตัวขนานกันไปในทางแนวเหนือ-ใต้ในลักษณะของ กราเบน (graben) และ half graben สันบริเวณเกาะกระ และจังหวัดนราธิวาสเป็นแนวแบ่งท้องทะเลอ่าวไทยออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านตะวันออก และด้านตะวันตก
     ด้านตะวันออกประกอบด้วยแอ่งที่สำคัญ 2 แอ่ง คือ แอ่งปัตตานี และแอ่งมาเลย์ ซึ่งตะกอนที่สะสมตัวในสองแอ่งนี้เป็นตะกอนพื้นทวีปในยุคเทอร์เชียรี มีความหนาประมาณ 4 กิโลเมตร แอ่งในบริเวณนี้ ส่วนใหญ่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ (gas field) ที่สำคัญของประเทศ เช่น แหล่งบงกช แหล่งจักรวาล แหล่งฟูนัน เป็นต้น ส่วนด้านตะวันตกของท้องทะเลอ่าวไทยประกอบด้วยแอ่งขนาดเล็กประมาณ 10 แอ่ง ตะกอนเทอร์เชียรี ที่สะสมตัวนั้นอยู่ในระดับตื้น มีความหนาประมาณ 300 เมตร แอ่งที่สำคัญและพบแหล่งปิโตรเลียมได้แก่ แอ่งชุมพรและแอ่งสงขลา เป็นต้น สําหรับแอ่งอื่นๆ ได้แก่ แอ่งหัวหิน แอ่งประจวบคีรีขันธ์ แอ่งกระด้านตะวันตก และแอ่งกระด้านตะวันออก
แอ่งเทอร์เชียรีในอ่าวไทยส่วนใหญ่เป็นแอ่ง ขนาดเล็ก ยกเว้นแอ่งหัวหิน แอ่งชุมพร แอ่งกระด้านตะวันตกและแอ่งปัตตานี ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร


2 ธรณีวิทยาบริเวณภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้
      อ่าวไทยซึ่งติดต่อและอยู่ทางตะวันตกของทะเลจีนตอนใต้ เป็นแนวที่ต่อมาจากที่ราบภาคกลาง มีการสะสมตัวของชั้นตะกอนในสภาวะที่เป็นน้ำจืด ตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนเป็นต้นมา ชั้นตะกอนหินหนาถึง 8,000 เมตร หรือกว่านั้น เพราะยังไม่มีการเจาะทะลุถึงชั้นล่างสุด นอกจากนั้นใต้บริเวณอ่าวไทยปรากฏค่าความร้อนจากใต้พิภพสูงกว่าปกติ
      จากการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ และการเจาะสำรวจพบรอยเลื่อนในแนวเหนือใต้ ซึ่งเคลื่อนตัวตลอดเวลาในระหว่างการสะสมตัวของตะกอน มีการทรุด (rifting) ตั้งฉากกับแนวรอยเลื่อนปกติเหล่านี้ แต่เกี่ยวพันและสืบทอดมากับแนวจุดอ่อนของแนวเลื่อนเจดีย์สามองค์ (sinistral Three Pagoda Fault Zone) ซึ่งมีแนวตะวันตกเฉียงเหนือและมีกำเนิดมาตั้งแต่มหายุคมีโซโซอิก หลักฐานของการเกิดธรณีสัณฐานแบบแยก (extension tectonics) ซึ่งก่อให้เกิดอ่าวไทย เห็นได้จาก ฮอรสต์ และกราเบน (horst and graben) ตลอดทิวเขาภาคเหนือและตะวันตก ที่ราบภาคกลางและทางเหนือขึ้นไปอีกในประเทศพม่าและลาว เป็นต้น รอยเลื่อนเหล่านี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการยกตัวของภูเขาและพื้นที่ข้างเคียง และตามด้วยการยกตัวของหินควอเทอร์นารี ขึ้นมาอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจแสดงถึงการยกตัวอย่างรวดเร็วในยุคควอเทอร์นารี
      ในบริเวณอ่าวไทยประกอบด้วยแอ่งสะสมตัวของหิน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปลายยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรี โดยมีการเลื่อนเป็นบล็อกในแนวเหนือใต้เนื่องจากอิทธิพลการเคลื่อนตัวของแผ่น เปลือกโลกอินเดียชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย เป็นเหตุให้แผ่นดินส่วนกลางของประเทศบริเวณอ่าวไทยเปิดกว้างมากขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนเป็นต้นมา แอ่งเทอร์เชียรีในอ่าวไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ส่วนตอนเหนือของอ่าวประกอบด้วยแอ่งปัตตานี (Pattani trough) ซึ่งเป็นแอ่งใหญ่สุด ลักษณะยาวรี วางตัวแนวเหนือ-ใต้ มีความกว้างประมาณ 70 กิโลเมตร และยาวประมาณ 400 กิโลเมตร มีชั้นหินยุคเทอร์เชียรีหนาประมาณ 8,000 เมตร วางตัวแบบรอยชั้นไม่ต่อเนื่องอยู่บนหินแกรนิตยุคครีเทเชียสและหินแปรมหายุค พาลีโอโซอิก โดยตะกอนที่สะสมตัวช่วงสมัยโอลิโกซีนนั้นเกิดในสภาวะที่เป็นทะเลสาบและช่วง สมัยไมโอซีนเกิดการสะสมตามทางน้ำและบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ แอ่งปัตตานีประกอบด้วยแอ่งย่อยหลายๆ แอ่ง อาทิ แอ่งเอราวัณ แอ่งปลาทอง แอ่งไพลินและแอ่งบรรพต เป็นต้น สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนใต้เป็นแอ่งมาเลย์เหนือซึ่งเป็นแอ่งเทอร์เชียรีขนาด ใหญ่ครอบคลุมพื้นที่เขตแดนไทยและทางตอนเหนือของมาเลเซีย ลักษณะของแอ่งเป็นรูปยาวรีวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ อยู่เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแอ่งปัตตานี มีการสะสมตะกอนในสภาวะแวดล้อมเช่นเดียวกับแอ่งปัตตานี และมีความหนาถึง 8,000 เมตรเช่นกัน ประกอบด้วยแอ่งย่อยต่างๆ อาทิ แอ่ง บงกช แอ่งบุษบง และแอ่งต้นสักเป็นต้น อนึ่ง ทางด้านตะวันตกของอ่าวไทยใกล้จังหวัดชุมพรยังมีแอ่งเทอร์เชียรีขนาดย่อมอีก แห่งคือแอ่งชุมพร มีชั้นหินเทอร์เชียรีหนาประมาณ 4,000-5,000 เมตร แอ่งเทอร์เชียรีในอ่าวไทยเป็นแหล่งทรัพยากรก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบที่ สำคัญของประเทศ

Friday, July 9, 2010

แผ่นดินไหว เขย่าไต้หวัน ไม่มีสึนามิ

แผ่นดินไหว เขย่าไต้หวัน ไม่มีสึนามิ

Pic_94872





แผ่น ดินไหว 5.2 ริคเตอร์ ที่บริเวณนอกชายฝั่งไต้หวัน อยู่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงไทเป ราว 90 กิโลเมตร แต่ ไม่มีการเตือนภัยสึนามิ....

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ วันที่ 9 ก.ค.ระบุ ศูนย์ธรณีวิทยาสหรัฐฯรายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.2 ริคเตอร์ ที่บริเวณนอกชายฝั่งไต้หวันวันนี้ แต่ไม่มีการเตือนภัยสึนามิ
แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 03.43 น. เช้าตรู่ของวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น อยู่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงไทเปราว 90 กิโลเมตร ทั้งนี้ เมื่อเดือน ก.ย.2542 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.6 ริคเตอร์ในไต้หวัน คร่าชีวิตประชาชนราว 2,400 คน นับเป็นครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไต้หวัน

เหมืองถ่านหิน จีนบึม คร่า6ศพเจ็บ34ราย

เหมืองถ่านหิน จีนบึม คร่า6ศพเจ็บ34ราย

Pic_94889
เกิดเหตุระเบิดที่เหมืองถ่านหินเฟิงหวงหลิง มณฑลเหอหนาน ทางภาคกลางของจีน เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บ 34 ราย ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบ...

สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงาน เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ว่า เกิดเหตุระเบิดที่เหมืองถ่านหินเฟิงหวงหลิง ตำบลจานเหอ เมืองผิงติงซาน มณฑลเหอหนาน ทางภาคกลางของจีน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 คนและบาดเจ็บอีก 32 ราย ส่วนอีก 2 รายบาดเจ็บสาหัส

เหตุระเบิดเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 05.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น  ห่างจากทางเข้าเหมืองราว 30 เมตร ก่อให้เกิดหลุมลึก 10 เมตร กว้าง 10 เมตร กระจกอาคารแตกละเอียดในระยะ 50 เมตร ส่วนหลังคาโกดังสิ้นค้าเปิดออกอันเนื่องมาจากแรงระเบิด เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณเคียง แต่โชคดีที่ขณะเกิดเหตุไม่มีคนงานทำงานอยู่ ขณะนี้ทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัย 12 นาย ลงพื้นที่ตรวจสอบ และช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายแล้ว ส่วนสาเหตุของการระเบิดยังไม่ทราบแน่ชัด

อนึ่ง โรงงานในประเทศจีน เกิดอุบัติเหตุคร่าชีวิตคนงานหลายครั้ง อันเนื่องมาจากระบบความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐาน เมื่อ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา เกิดเหตุเหมืองถ่านหินระเบิดในเมืองเดียวกัน ทำให้คนงานเสียชีวิตมากถึง 49 ศพ.

Wednesday, June 30, 2010

เฮอร์ริเคน อเล็กซ์เข้าอ่าวเม็กซิโก กระทบแก้ไขน้ำมันรั่ว

เฮอร์ริเคน อเล็กซ์เข้าอ่าวเม็กซิโก กระทบแก้ไขน้ำมันรั่ว

Pic_92941 เฮอร์ริเคน "อเล็กซ์" พัดเข้าอ่าวเม็กซิโก เกิดพายุลมแรง คลื่นทะเลก่อตัวสูง ทำให้การเก็บกวาดคราบน้ำมันเป็นไปอย่างล่าช้า และคาดว่าจะส่งผลให้ฝนตกหนักครอบคลุมพื้นที่ใกล้พรมแดน "เท็กซัส-เม็กซิโก" ในวันพุธนี้...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ว่า ผลพวงจากเฮอร์ริเคน "อเล็กซ์" ทำให้ความพยายามในการเก็บกวาด เผาทำลาย และจำกัดพื้นที่ของคราบน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกต้องล่าช้าลง เนื่องจากเกิดพายุลมแรง และคลื่นทะเลที่ก่อตัวสูงขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติการต่อไปไม่หยุดยั้ง แม้จะได้รับผลกระทบก็ตาม

พายุ "อเล็กซ์" เป็นเฮอร์ริเคนลูกแรกของฤดู ที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมัทรแอตแลนติก ขณะนี้ความรุนแรงอยู่ระดับที่ 1 และคาดว่าจะส่งผลให้ฝนตกหนักครอบคลุมพื้นที่ใกล้พรมแดน "เท็กซัส-เม็กซิโก" ในวันพุธนี้

สำหรับน้ำมันดิบที่ไหลทะลักในอ่าวเม็กซิโก มีปริมาณราว 25,000 บาเรล/วัน ด้านบริษัทบีพี เจ้าของแท่นขุดเจาะดังกล่าวแจงว่า จะสามารถบรรเทาการรั่วไหลได้ตามเป้าหมายราวต้นเดือน ส.ค.นี้.

ธรณีพิโรธเขย่า 'รัฐโออาซากา' 6.5 ริคเตอร์

ธรณีพิโรธเขย่า 'รัฐโออาซากา' 6.5 ริคเตอร์

Pic_92945
แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 ริคเตอร์ เขย่ารัฐโออาซากา ทางตอนใต้ของเม็กซิโก อาคารบ้านเรือนสั่นไหว ประชาชนแตกตื่นหนีออกมาอยู่ตามท้องถนน แต่เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหาย...

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ว่า สำนักธรณีวิทยาสหรัฐฯ แจ้งว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงวัดระดับได้ 6.5 ริคเตอร์ ที่รัฐโออาซากา ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก เมื่อช่วงเช้าวันพุธที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น

ข่าว ระบุว่า อาคารบ้านเรือนในกรุงเม็กซิโก ซิตี้ สั่นไหวตามแรงสั่นสะเทือน ประชาชนบางส่วนต้องอพยพออกจากอาคารมาอยู่ตามท้องถนน แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหาย หรือผู้ได้รับบาดจ็บแต่อย่างใด.

ชั้นน้ำแข็งบน เกาะขั้วโลกใต้เกาะเดียวละลาย น้ำทะเลสูงขึ้นอีกร้อยละ 10

ชั้นน้ำแข็งบน เกาะขั้วโลกใต้เกาะเดียวละลาย น้ำทะเลสูงขึ้นอีกร้อยละ 10

Pic_92472
นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยเป็นเชิงเตือนให้เห็นอิทธิฤทธิ์ของภาวะ โลกร้อนว่า ชั่วเพียงแต่ชั้นน้ำแข็งบนเกาะแห่งหนึ่งที่ทวีปแอนตาร์กติกา ขั้วโลกใต้ ละลายบางลง ยังทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นได้อีกถึงร้อยละ 10

คณะ สำรวจแอนตาร์กติกอังกฤษได้ใช้ ยานดำน้ำหุ่นยนต์ "ออโตซับ" เป็นเครื่องมือ ในการวัดระดับท้องมหาสมุทรและทะเล ทำให้ พบว่า มีสันเขาสูง 300 เมตร ที่ท้องทะเลด้วย

แม่น้ำน้ำแข็งที่เกาะไพน์ครั้งหนึ่งเคยเกาะหนาบนยอด สันเขานั้น และค่อยละลายลงสู่ทะเล มันค่อยบางลงในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ และขาดหลุดจากสันเขา ทำให้แม่น้ำน้ำแข็งเคลื่อนจากบนบกลงสู่ทะเลเร็วขึ้น


ความเคลื่อนไหวดังกล่าวยังทำให้น้ำในระดับลึกของมหาสมุทรเอ่อล้นเลย สันเขา และไหลลงไปอยู่ในโพรงกว้าง ซึ่งขยายลงไปบริเวณใต้ชั้นน้ำแข็ง กว้างใหญ่ถึง 1,000 ตร.กม. เมื่อน้ำอุ่่นไปขังอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็ง ทำให้น้ำแข็งละลาย ค่อยบางลงเรื่อย และยิ่งพลอยทำให้แม่น้ำน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น.

Saturday, June 5, 2010

แท่นขุดก๊าซ ธรรมชาติเวเนฯ จมกลางทะเลแคริเบียน

แท่นขุดก๊าซ ธรรมชาติเวเนฯ จมกลางทะเลแคริเบียน

Pic_82849

แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ อับปางกลางทะเลแคริเบียน เพราะระบบการลอยตัวของท่อเชื่อมต่อขัดข้อง แต่ไม่มีก๊าซรั่วออกมา รวมถึงคนงาน 95 ชีวิตปลอดภัยทั้งหมด...

สำนักข่าวบีบีซีรายงาน เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ว่า แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติอับปางกลางทะเลแคริบเบียน นอกชายฝั่งเวเนซูเอลา แต่กระทรวงพลังงานระบุ ไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติแต่อย่างใด

ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวซ รายงานสถานการณ์ดังกล่าว ผ่านทางเว็บไซต์สังคมออนไลน์ 'ทวิตเตอร์' ส่วนตัว โดยระบุว่า คนงานทั้ง 95 ชีวิต ได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัยจากแท่นขุดเจาะ อาบาน เพิร์ล ก่อนจมลงในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดี (13 พ.ค. ) ตามเวลาท้องถิ่น

ขณะ ที่ ราฟาเอล รามิเรซ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและน้ำมัน เผยว่า ปัญหาเกิดจากการขัดข้องของระบบการลอยตัวของท่อที่เชื่อมต่อกับแท่นขุดเจาะ จึงทำให้จมลง แต่ไม่มีก๊าซรั่วออกมา เพราะระบบความปลอดภัยของวาลว์ทำงาน

แท่น ชุดเจาะก๊าซทำธรรมชาติ อาบาน เพิร์ล ทำการขุดเจาะในโครงการก๊าซธรรมชาติ มาริสคาล ซูเคร นอกชายฝั่งรัฐซูเคร ของเวเนซูเอลา ภายใต้การควบคุมของบริษัทอินเดีย อาบาน ออฟชอร์ จำกัด แต่ดำเนินการโดยบริษัทน้ำมัน พีดีวีเอสเอ ของเวเนซูเอลา

2บริษัทโสมร่วม มือขุดก๊าซบ่อใหญ่ของพม่า

2บริษัทโสมร่วม มือขุดก๊าซบ่อใหญ่ของพม่า

Pic_66880

2 บริษัทยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ ลงนามร่วมพัฒนาบ่อก๊าซธรรมชาติแหล่งใหญ่ในพม่า คาดมีก๊าซอยู่ราว 4.5-7.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ท่ามกลางการจับกุมคนท้องถิ่นที่วิจารณ์โครงการดังกล่าว...

สำนักข่าว ต่างประเทศ รายงานเมื่อ 23ก.พ. ว่า “ฮุนได เฮฟวี อินดัสทรีส์” และ “แดวู อินเตอร์แนชนัล” 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ ลงนามร่วมพัฒนาบ่อก๊าซธรรมชาติแหล่งใหญ่ในพม่า โดยจะเริ่มสร้างแท่นขุดเจาะและโครงข่ายระบบที่เกี่ยวข้องที่โครงการ “ฉ่วย” นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของพม่าที่คาดว่ามีก๊าซอยู่ราว 4.5-7.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ภายในมี.ค. 2556 และจะผลิตก๊าซได้วันละ15 ล้านลูกบาศก์เมตร นาน 25-30 ปี โดยโครงการข้างต้น วางแผนลำเลียงส่งก๊าซ ที่ได้ผ่านท่อใต้ทะเลไปยังจีนภายในเดือนพ.ค.ปี 2556 เช่นกัน

ขณะที่ รายงานของกลุ่มเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุ ผลพวงจากโครงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติของ 2 บริษัท ของเกาหลีใต้ ทำให้มีการไล่เวนคืนที่ดินและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่ ส่วนคนท้องถิ่นที่กล้าวิจารณ์โครงการก็ถูกจับกุมคุมขัง

แท่นขุดเจาะ ก๊าซบึมที่อิหร่านตาย3เจ็บ12คุมเพลิงได้

แท่นขุดเจาะ ก๊าซบึมที่อิหร่านตาย3เจ็บ12คุมเพลิงได้

Pic_86178

เกิดเหตุระเบิดที่แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในอิหร่าน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย บาดเจ็บ 12 ราย เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงได้แล้ว...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ว่า เกิดเหตุร้ายขึ้นบริเวณแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในจังหวัดเคอร์มาน ชาห์ ทางภาคตะวันตกใกล้ชายแดนอิรัก เสียงระเบิดเกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าวันเสาร์ ทำให้เกิดไฟลุกไหม้อย่างรุนแรงตามมา

ทั้งนี้ ผลจากเหตุร้ายดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน บาดเจ็บมากกว่า 12 คน ผู้บาดเจ็บสาหัส 6 คน กว่าเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงได้ต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง สาเหตุการระเบิด และเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้ อาจเพราะก๊าซรั่ว

อย่างไร ก็ตาม ทางการอิหร่านหวังว่าแท่นขุดเจาะไม่ได้รับความเสียหายมากนัก

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า อิหร่านเป็นชาติส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่อันดับ 2 ของกลุ่มโอเปก เฉพาะปริมาณการผลิตน้ำมันดิบดำเนินการได้วันละ 4.2 ล้านบาร์เรล.

บ.รอสเนฟต์ บรรลุข้อตกลงขุดก๊าซธรรมชาติในยูเออี

บ.รอสเนฟต์ บรรลุข้อตกลงขุดก๊าซธรรมชาติในยูเออี

Pic_87585

"รอสเนฟต์"ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซียบรรลุข้อตกลงขุด เจาะก๊าซธรรมชาติใกล้ดูไบในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์..

สำนักข่าวต่าง ประเทศรายงานเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ว่า บริษัท "รอสเนฟต์" ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย ได้บรรลุข้อตกลงในการจับมือกับบริษัท "เครชเชนต์ ปิโตรเลียม" จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพื่อร่วมกันขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติในรัฐ "ชาร์จาห์" ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของนครดูไบเพียงเล็กน้อย และอยู่ลึกลงไปใต้ดินราว 2,500 เมตร

การทำข้อตกลงขุดเจาะก๊าซ ธรรมชาติใน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ของรอสเนฟต์ครั้งนี้ เป็นหนึ่งในแผนการของ อิกอร์ อิวาโนวิช เซชิน ประธานบริษัทที่ต้องการให้รอสเนฟต์กลายเป็นยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน "อันดับหนึ่งของโลก" ในอนาคตอันใกล้ หลังจากก่อนหน้านี้รอสเนฟต์เพิ่งได้สิทธิ์ในการสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน รวมถึงก๊าซธรรมชาติในแอลจีเรีย, เวเนซุเอลา และคาซัคสถานมาแล้ว

ทั้ง นี้ การทำข้อตกลงในครั้งนี้ของรอสเนฟต์ทำให้ทางบริษัทจะได้สิทธิ์จากการขายก๊าซ ธรรมชาติที่ขุดเจาะได้จากแหล่งก๊าซแห่งนี้ร้อยละ 49 ขณะที่บริษัทเครชเชนต์ ปิโตรเลียมซึ่งเป็นบริษัทท้องถิ่นจะได้สิทธิ์ร้อยละ 51.

Tuesday, June 1, 2010

แผ่นดินไหว6.6 เกาะอันดามัน ยังไม่มีเสียหาย

แผ่นดินไหว6.6 เกาะอันดามัน ยังไม่มีเสียหาย

Pic_86602

ภาพจากเว็บไซต์กรมอุตุ นิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยา เผย เกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรง 6.6 ริกเตอร์ ที่หมู่เกาะอันดามันของประเทศอินเดีย เบื้องต้น ยังไม่พบความเสียหาย และ ไม่มีรายงานว่า กระทบต่อไทย...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวัน ที่ 1 มิ.ย. ตามเวลาประเทศไทย โดยระบุ สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ "USGS" รายงานว่า ได้เกิดแผ่นดินไหวระดับความรุนแรง 6.4 ที่บริเวณหมู่เกาะอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อเวลา 01:21 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเวลาประมาณ 02:51 น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ลึกลงไปใต้ทะเลราว 127.7 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองพอร์ท แบลร์ ซึ่งเป็นเมืองเอกของหมู่เกาะดังกล่าวไปทางตะวันออกราว 120 กิโลเมตร

อย่าง ไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ รวมถึง ยังไม่มีการประกาศเตือนภัยการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิเช่นกัน

ทางด้าน กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย รายงานว่าแผ่นดินไหวดังกล่าว มีขนาดความรุนแรง 6.6 ริกเตอร์ โดยเบื้องต้นยังไม่มีรายงานว่าส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

บีพียังล้มเหลว ภารกิจอุดฐานขุดเจาะน้ำมันรั่ว

บีพียังล้มเหลว ภารกิจอุดฐานขุดเจาะน้ำมันรั่ว

Pic_86327

บีพี เปลี่ยนวิธีการใหม่เพื่อหยุดการรั่วไหลของน้ำมัน เริ่มต้นได้ในสัปดาห์หน้า ด้วยการใช้ฝาครอบ ปิดทับรอยรั่วใต้ทะเล ก่อนใช้หุ่นยนต์ใต้น้ำ ช่วยปฏิบัติการเชื่อมและตัดเหล็ก...

ภารกิจ ความพยายามหยุดยั้งการรั่วไหลของน้ำมันดิบ จากแหล่งขุดเจาะน้ำมันใต้ทะเลลึก เกือบ 1.6 กม. กลางอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ โดยบริษัทบีพี ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของอังกฤษ ยังล้มเหลว หลังเหตุแท่นขุดเจาะน้ำมัน “ดีฟวอเทอร์ ฮอริซอน” ระเบิดตั้งแต่ 20 เม.ย. คร่าชีวิตคนงาน 11 ราย ทำให้แท่นขุดเจาะน้ำมันดิบจมลงสู่ก้นทะเล หลังจากนั้น 2 วัน นอกเหนือจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบขึ้นสู่ผิวทะเลปริมาณมหาศาล ถือเป็นพิบัติภัยคราบน้ำมันลอยทะเลครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของ สหรัฐฯ

บริษัทบีพีอยู่ระหว่างเปลี่ยนวิธีการใหม่ เพื่อหยุดยั้งการรั่วไหลของน้ำมัน หลังความพยายามก่อนหน้านี้ 3 วัน ไม่ประสบความสำเร็จ วิธีการใหม่ ซึ่งจะเริ่มต้นได้ภายในสัปดาห์หน้า คือ ใช้ฝาครอบ “แอลเอ็มอาร์พี” (Lower Marine Riser Package Cap) ปิดทับบริเวณรอยรั่วใต้ทะเล โดยใช้หุ่นยนต์ใต้น้ำ ช่วยปฏิบัติการเชื่อมและตัดเหล็ก ซึ่งหุ่นยนต์ถูกควบคุมจากเรือเอ็นเตอร์ไพรซ์ลอยลำอยู่ใกล้เคียง กระบวนการทั้งหมดอาจต้องใช้เวลานานถึง 2 เดือน ปริมาณรั่วไหลของน้ำมันดิบสู่ท้องทะเลอ่าวเม็กซิโก คาดว่าอยู่ระหว่าง 18.6 - 29.5 ล้านแกลลอน น้ำมันดิบรั่วเฉลี่ยวันละ 12,000 - 19,000 บาร์เรล รวมปริมาณน้ำมันดิบรั่วไหลสู่ทะเล มากกว่าพิบัติภัยเรือบรรทุกน้ำมันเอ็กซ์ ซอน วาลเดซ ทำน้ำมันรั่วลงทะเลรัฐอลาสก้า เมื่อปี 2532 ที่มีปริมาณราว 11 ล้านแกลลอน พิบัติภัยครั้งนี้จึงถือว่ารุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ

ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ เดินทางเยือนพื้นที่เกิดเหตุแล้ว 2 ครั้ง มีคำสั่งถึงรมว.มหาดไทย ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะคราบน้ำมันกระทบถึงชายฝั่งสหรัฐฯ ระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร กระทบสภาพแวดล้อม ธุรกิจประมง การท่องเที่ยว ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวบ้านแถบชายฝั่งทะเลจำนวนมาก

ทั้งนี้ รัฐหลุยเซียนา เรียกร้องถึงบริษัทบีพี ให้อนุมัติทุน 300 ล้านดอลลาร์ ช่วยเหลือผลกระทบทางธุรกิจของชาวบ้านในระยะยาว ส่วนสมาคมธุรกิจประมง ส่งหนังสือร้องขอทุนจากบริษัทบีพีอีก 457 ล้านดอลลาร์ ใช้ในแผนปกป้องความปลอดภัยแหล่งอาหารทะเล ตลอดช่วงเวลา 20 ปี

ขณะ เดียวกัน มีรายงานด้วยว่า เหล่าเจ้าหน้าที่ช่วยจัดการปัญหาคราบน้ำมัน ได้รับผลกระทบ โดยถูกคราบน้ำมับดิบกัดไหม้ผิวหนัง ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลอีกจำนวนหนึ่งด้วย.

Monday, May 31, 2010

ภูเขาไฟใน เอกวาดอร์-กัวเตมาลาเริ่มลดการปะทุลง

ภูเขาไฟใน เอกวาดอร์-กัวเตมาลาเริ่มลดการปะทุลง

Pic_86391

ภูเขาไฟ 2 ลูก ในเอกวาดอร์ และกัวเตมาลา อาจลดการปะทุรุนแรงลง โดยสนามบินระหว่างประเทศลาออโรราจะยังปิดให้บริการต่ออีก5วันเพื่อทำความ สะอาดเถ้าที่หนาทึบ...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ว่า ภูเขาไฟ 2 ลูก ในเอกวาดอร์ และกัวเตมาลา อาจลดการปะทุรุนแรงลง หลังจากปะทุลาวาและเถ้าถ่านออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายวันที่ผ่านมา

ภูเขา ไฟปากายาปะทุลาวาออกมาตั้งแต่ช่วงเย็นวันพฤหัสบดี ทำให้กรุงกัวเตมาลา ซิตี้ ถูกปกคลุมไปด้วยกลุ่มควันและเถ้าถ่าน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน รวมถึงผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ที่มารายงานข่าวในครั้งนี้ รวมทั้งต้องอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบราว 2,000 คน



ขณะที่ท่าอากาศยานระหว่างประเทศลาออโรราของกัวเตมาลา จะยังคงปิดบริการต่อไปอีก 5 วัน เพื่อทำความสะอาดเถ้าถ่านหนาทึบออกจากรันเวย์ หลังจากปิดบริการมาตั้งแต่วันศุกร์

ส่วนที่เอกวาดอร์ ภูเขาตุงกูราฮัว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงกิโต ก็เริ่มลดความรุนแรงของการปะทุลงแล้ว หลังเกิดการระเบิดพ่นลาวาและเถ้าถ่าน จนทำให้ต้องอพยพชาวบ้าน 2,600 คน และยกเลิกการเดินทางของเที่ยวบินจำนวนมาก.

น่ากลัวเหมือนกันนะครับผมว่า แต่ลดความรุนแรงลงแล้วก็ขอให้กลับสู่สภาวะปกติเร็วๆ นะครับ