Thursday, July 28, 2011

คนเข้าเยอะจัง ฮ่าๆๆๆ

เว็บนี้ผมทำไว้ตั้งแต่สมัยผมเรียนมหาวิทยาลัยปีสอง ณ ปัจจุบัน มีคนเข้าวันละ 200 คน Up เห็นแล้วก็น่าเสียดายที่จะทิ้งมันไป เดี๋ยวผมจะพยายามอัพเดทเรื่อยๆ นะคร๊าฟฟฟฟฟฟฟ

Tuesday, March 22, 2011

กำเนิดปิโตรเลียม

ปัจจุบันนักธรณีวิทยามีความเชื่อว่า ปิโตรเลียมมีต้นกำเนิดมาจากการตายทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ภายใต้พื้นโลก เป็นเวลาล้านๆ ปี จนกลายเป็นชั้นหิน และด้วยอุณหภูมิ และความดันที่สูง ซึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินและอุณหภูมิใต้พิภพ อีกทั้งยังต้องมีปริมาณของออกซิเจน (O) ต่ำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสลายตัวของอินทรียสารจากซากสิ่งมีชีวิตเหล่า นี้ จากนั้นสารอินทรีย์ซึ่งมีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนมาก ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างช้าๆ จนในท้ายที่สุดจะแปรสภาพเป็นก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบสะสมและซึมผ่านในชั้น หินที่มีรูพรุน เช่น ชั้นหินทรายและชั้นหินปูน ซึ่งโดยปกติจะปริมาณการสะสมตัวประมาณ 5.25% ของปริมาตรหิน ทั้งนี้ไฮโดรคาร์บอนดังกล่าวสามารถเคลื่อนย้ายไปตามช่องว่างและรอยแตกในหิน ข้างเคียงได้



ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหินที่เหมาะสมในการกักเก็บปิโตรเลียม คือ





  • โครงสร้างรูปโค้งประทุนคว่ำ (Anticline Trap) เกิดจากการคดโค้งของชั้นหิน ทำให้มีรูปร่างโค้งคล้ายกระทะคว่ำหรือหลังเต่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะ เคลื่อนเข้าไปรวมตัวกันอยู่ในส่วนโค้งก้นกระทะด้านบน โดยมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่



      • โครงสร้างรูปประดับชั้น (Stratigraphic Trap) สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของชั้นหิน โดยที่ชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมจะถูกปิดล้อมเป็นกะเปาะอยู่ระหว่างชั้นหิน เนื้อแน่น
      • โครงสร้างรูปโดม (Salt Dome Trap) เกิดจากการดันตัวของโดมเกลือ ผ่านชั้นหินกักเก็บน้ำมัน และจะเกิดการสะสมของปิโตรเลียมอยู่ด้านข้างของชั้นโดมเกลือนั้น
      • โครงสร้างรูปรอยเลื่อน (Fault Trap) เกิดการเลื่อนตัวชั้นหิน ทำให้เกิดรอยแตก (Fault) ขึ้น และทำให้ชั้นหินที่มีเนื้อแน่นเลื่อนมาปิดทับชั้นหินที่มีรูพรุนที่มี ปิโตรเลียมอยู่ ปิโตรเลียมจึงสามารถกักเก็บอยู่ในชั้นหินนั้นได้
      1. ปิโตรเลียม (Petroleum) หมายถึง

         ปิโตรเลียม (petroleum จากภาษากรีก petra – หิน และ elaion – น้ำมัน หรือภาษาละติน oleum – น้ำมัน ) รวมความแล้วหมายถึง น้ำมันที่ได้จากหิน หรือที่เราเรียกกันว่า น้ำมันดิบ บางครั้งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ทองคำสีดำ" หรือ "น้ำชาเท็กซัส" คือเป็นของเหลวที่ขุ่นข้นมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีเขียวเข้ม
        ปิโตรเลียม เป็นสารไฮโดรคาร์บอน (CH) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) ซึ่งอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ โดยจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียม รวมถึงความร้อน และความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม



        ปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ น้ำมันดิบ (Oil) และ ก๊าซธรรมชาติ ( Natural Gases)
        1. น้ำมันดิบ จะประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนชนิดระเหยง่ายเป็นหลัก นอกจากนั้นจะเป็นสารจำพวกกำมะถัน ไนโตรเจน และสารประกอบออกไซด์อื่นปนอยู่
        2. ก๊าซธรรมชาติ เป็นปิโตรเลียมที่อยู่ในรูปของ ก๊าซ ณ อุณหภูมิ และความดันที่ผิวโลก ซึ่งประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนเป็นหลัก โดยอาจมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 95 ส่วนที่เหลือจะเป็นสารจำพวกไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ บางครั้งอาจจะพบไฮโดรเจนซัลไฟด์ปนอยู่ด้วย โดยจะหมายรวมถึง ก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งเมื่ออยู่ในแหล่งกักเก็บใต้ผิวโลกซึ่งมีอุณหภูมิและความดันสูงจะมีสภาพ เป็นก๊าซ และจะกลายสภาพเป็นของเหลวเมื่อขึ้นมาสู่พื้นผิว เนื่องจากประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนในกลุ่มเดียวกันกับก๊าซธรรมชาติ แต่มีจำนวนคาร์บอนอะตอมในโครงสร้างโมเลกุลสูงกว่าก๊าซธรรมชาติ จึงเรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว

          ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia ครับผม

        Tuesday, July 13, 2010

        ธรณีวิทยาของอ่าวไทย (The Gulf of Thailand)

        ธรณีวิทยาของอ่าวไทย (The Gulf of Thailand)
        สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมขอเขียนบล็อกเรื่อง The Gulf of Thailand นะครับ พอดีเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่แล้ว
        ผมมีโอกาสได้เข้าสัมภาษณ์ Coop กับบริษัท Chevron แล้วเค้าก็ถามเกี่ยวกับ The Gulf of Thialand ครับ
        แต่ผมก็ตอบไม่ได้ ก็เลยมาหาข้อมูล แล้วขอบอกต่อไว้ประดับความรู้กับเำพื่อนๆ แล้วกันนะครับ ^^

        1. ลักษณะภูมิประเทศและภูมิสัณฐาน บริเวณอ่าวไทย (The Gulf of Thailand)
            อ่าวไทยหมายถึงบริเวณทะเลด้านตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งเปิดไปสู่ทะเลจีนใต้ ขอบเขตของอ่าวไทยตอนบนต่อเนื่องกับดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาของ ที่ราบลุ่มภาคกลาง และชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ทิศตะวันตกติดต่อกับชายฝั่งทะเลภาคใต้ ส่วนทิศตะวันออกและทิศใต้ติดต่อเขตกับน่านน้ำของประเทศกัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยมีเขตน่านน้ำห่างจากฝั่งทะเลของแต่ละประเทศ 12 ไมล์ทะเล
             Pradidtan and Dook (1992) กล่าวถึง การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ว่าลักษณะภูมิประเทศของท้องทะเลในอ่าวไทยไม่ราบเรียบ แต่มีสัน (ridges) และแอ่ง (basins) มากมาย สันและแอ่งเหล่านี้วางตัวขนานกันไปในทางแนวเหนือ-ใต้ในลักษณะของ กราเบน (graben) และ half graben สันบริเวณเกาะกระ และจังหวัดนราธิวาสเป็นแนวแบ่งท้องทะเลอ่าวไทยออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านตะวันออก และด้านตะวันตก
             ด้านตะวันออกประกอบด้วยแอ่งที่สำคัญ 2 แอ่ง คือ แอ่งปัตตานี และแอ่งมาเลย์ ซึ่งตะกอนที่สะสมตัวในสองแอ่งนี้เป็นตะกอนพื้นทวีปในยุคเทอร์เชียรี มีความหนาประมาณ 4 กิโลเมตร แอ่งในบริเวณนี้ ส่วนใหญ่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ (gas field) ที่สำคัญของประเทศ เช่น แหล่งบงกช แหล่งจักรวาล แหล่งฟูนัน เป็นต้น ส่วนด้านตะวันตกของท้องทะเลอ่าวไทยประกอบด้วยแอ่งขนาดเล็กประมาณ 10 แอ่ง ตะกอนเทอร์เชียรี ที่สะสมตัวนั้นอยู่ในระดับตื้น มีความหนาประมาณ 300 เมตร แอ่งที่สำคัญและพบแหล่งปิโตรเลียมได้แก่ แอ่งชุมพรและแอ่งสงขลา เป็นต้น สําหรับแอ่งอื่นๆ ได้แก่ แอ่งหัวหิน แอ่งประจวบคีรีขันธ์ แอ่งกระด้านตะวันตก และแอ่งกระด้านตะวันออก
        แอ่งเทอร์เชียรีในอ่าวไทยส่วนใหญ่เป็นแอ่ง ขนาดเล็ก ยกเว้นแอ่งหัวหิน แอ่งชุมพร แอ่งกระด้านตะวันตกและแอ่งปัตตานี ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร


        2 ธรณีวิทยาบริเวณภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้
              อ่าวไทยซึ่งติดต่อและอยู่ทางตะวันตกของทะเลจีนตอนใต้ เป็นแนวที่ต่อมาจากที่ราบภาคกลาง มีการสะสมตัวของชั้นตะกอนในสภาวะที่เป็นน้ำจืด ตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนเป็นต้นมา ชั้นตะกอนหินหนาถึง 8,000 เมตร หรือกว่านั้น เพราะยังไม่มีการเจาะทะลุถึงชั้นล่างสุด นอกจากนั้นใต้บริเวณอ่าวไทยปรากฏค่าความร้อนจากใต้พิภพสูงกว่าปกติ
              จากการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ และการเจาะสำรวจพบรอยเลื่อนในแนวเหนือใต้ ซึ่งเคลื่อนตัวตลอดเวลาในระหว่างการสะสมตัวของตะกอน มีการทรุด (rifting) ตั้งฉากกับแนวรอยเลื่อนปกติเหล่านี้ แต่เกี่ยวพันและสืบทอดมากับแนวจุดอ่อนของแนวเลื่อนเจดีย์สามองค์ (sinistral Three Pagoda Fault Zone) ซึ่งมีแนวตะวันตกเฉียงเหนือและมีกำเนิดมาตั้งแต่มหายุคมีโซโซอิก หลักฐานของการเกิดธรณีสัณฐานแบบแยก (extension tectonics) ซึ่งก่อให้เกิดอ่าวไทย เห็นได้จาก ฮอรสต์ และกราเบน (horst and graben) ตลอดทิวเขาภาคเหนือและตะวันตก ที่ราบภาคกลางและทางเหนือขึ้นไปอีกในประเทศพม่าและลาว เป็นต้น รอยเลื่อนเหล่านี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการยกตัวของภูเขาและพื้นที่ข้างเคียง และตามด้วยการยกตัวของหินควอเทอร์นารี ขึ้นมาอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจแสดงถึงการยกตัวอย่างรวดเร็วในยุคควอเทอร์นารี
              ในบริเวณอ่าวไทยประกอบด้วยแอ่งสะสมตัวของหิน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปลายยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรี โดยมีการเลื่อนเป็นบล็อกในแนวเหนือใต้เนื่องจากอิทธิพลการเคลื่อนตัวของแผ่น เปลือกโลกอินเดียชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย เป็นเหตุให้แผ่นดินส่วนกลางของประเทศบริเวณอ่าวไทยเปิดกว้างมากขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนเป็นต้นมา แอ่งเทอร์เชียรีในอ่าวไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ส่วนตอนเหนือของอ่าวประกอบด้วยแอ่งปัตตานี (Pattani trough) ซึ่งเป็นแอ่งใหญ่สุด ลักษณะยาวรี วางตัวแนวเหนือ-ใต้ มีความกว้างประมาณ 70 กิโลเมตร และยาวประมาณ 400 กิโลเมตร มีชั้นหินยุคเทอร์เชียรีหนาประมาณ 8,000 เมตร วางตัวแบบรอยชั้นไม่ต่อเนื่องอยู่บนหินแกรนิตยุคครีเทเชียสและหินแปรมหายุค พาลีโอโซอิก โดยตะกอนที่สะสมตัวช่วงสมัยโอลิโกซีนนั้นเกิดในสภาวะที่เป็นทะเลสาบและช่วง สมัยไมโอซีนเกิดการสะสมตามทางน้ำและบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ แอ่งปัตตานีประกอบด้วยแอ่งย่อยหลายๆ แอ่ง อาทิ แอ่งเอราวัณ แอ่งปลาทอง แอ่งไพลินและแอ่งบรรพต เป็นต้น สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนใต้เป็นแอ่งมาเลย์เหนือซึ่งเป็นแอ่งเทอร์เชียรีขนาด ใหญ่ครอบคลุมพื้นที่เขตแดนไทยและทางตอนเหนือของมาเลเซีย ลักษณะของแอ่งเป็นรูปยาวรีวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ อยู่เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแอ่งปัตตานี มีการสะสมตะกอนในสภาวะแวดล้อมเช่นเดียวกับแอ่งปัตตานี และมีความหนาถึง 8,000 เมตรเช่นกัน ประกอบด้วยแอ่งย่อยต่างๆ อาทิ แอ่ง บงกช แอ่งบุษบง และแอ่งต้นสักเป็นต้น อนึ่ง ทางด้านตะวันตกของอ่าวไทยใกล้จังหวัดชุมพรยังมีแอ่งเทอร์เชียรีขนาดย่อมอีก แห่งคือแอ่งชุมพร มีชั้นหินเทอร์เชียรีหนาประมาณ 4,000-5,000 เมตร แอ่งเทอร์เชียรีในอ่าวไทยเป็นแหล่งทรัพยากรก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบที่ สำคัญของประเทศ

        Friday, July 9, 2010

        แผ่นดินไหว เขย่าไต้หวัน ไม่มีสึนามิ

        แผ่นดินไหว เขย่าไต้หวัน ไม่มีสึนามิ

        Pic_94872





        แผ่น ดินไหว 5.2 ริคเตอร์ ที่บริเวณนอกชายฝั่งไต้หวัน อยู่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงไทเป ราว 90 กิโลเมตร แต่ ไม่มีการเตือนภัยสึนามิ....

        สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ วันที่ 9 ก.ค.ระบุ ศูนย์ธรณีวิทยาสหรัฐฯรายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.2 ริคเตอร์ ที่บริเวณนอกชายฝั่งไต้หวันวันนี้ แต่ไม่มีการเตือนภัยสึนามิ
        แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 03.43 น. เช้าตรู่ของวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น อยู่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงไทเปราว 90 กิโลเมตร ทั้งนี้ เมื่อเดือน ก.ย.2542 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.6 ริคเตอร์ในไต้หวัน คร่าชีวิตประชาชนราว 2,400 คน นับเป็นครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไต้หวัน

        เหมืองถ่านหิน จีนบึม คร่า6ศพเจ็บ34ราย

        เหมืองถ่านหิน จีนบึม คร่า6ศพเจ็บ34ราย

        Pic_94889
        เกิดเหตุระเบิดที่เหมืองถ่านหินเฟิงหวงหลิง มณฑลเหอหนาน ทางภาคกลางของจีน เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บ 34 ราย ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบ...

        สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงาน เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ว่า เกิดเหตุระเบิดที่เหมืองถ่านหินเฟิงหวงหลิง ตำบลจานเหอ เมืองผิงติงซาน มณฑลเหอหนาน ทางภาคกลางของจีน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 คนและบาดเจ็บอีก 32 ราย ส่วนอีก 2 รายบาดเจ็บสาหัส

        เหตุระเบิดเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 05.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น  ห่างจากทางเข้าเหมืองราว 30 เมตร ก่อให้เกิดหลุมลึก 10 เมตร กว้าง 10 เมตร กระจกอาคารแตกละเอียดในระยะ 50 เมตร ส่วนหลังคาโกดังสิ้นค้าเปิดออกอันเนื่องมาจากแรงระเบิด เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณเคียง แต่โชคดีที่ขณะเกิดเหตุไม่มีคนงานทำงานอยู่ ขณะนี้ทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัย 12 นาย ลงพื้นที่ตรวจสอบ และช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายแล้ว ส่วนสาเหตุของการระเบิดยังไม่ทราบแน่ชัด

        อนึ่ง โรงงานในประเทศจีน เกิดอุบัติเหตุคร่าชีวิตคนงานหลายครั้ง อันเนื่องมาจากระบบความปลอดภัยต่ำกว่ามาตรฐาน เมื่อ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา เกิดเหตุเหมืองถ่านหินระเบิดในเมืองเดียวกัน ทำให้คนงานเสียชีวิตมากถึง 49 ศพ.

        Wednesday, June 30, 2010

        เฮอร์ริเคน อเล็กซ์เข้าอ่าวเม็กซิโก กระทบแก้ไขน้ำมันรั่ว

        เฮอร์ริเคน อเล็กซ์เข้าอ่าวเม็กซิโก กระทบแก้ไขน้ำมันรั่ว

        Pic_92941 เฮอร์ริเคน "อเล็กซ์" พัดเข้าอ่าวเม็กซิโก เกิดพายุลมแรง คลื่นทะเลก่อตัวสูง ทำให้การเก็บกวาดคราบน้ำมันเป็นไปอย่างล่าช้า และคาดว่าจะส่งผลให้ฝนตกหนักครอบคลุมพื้นที่ใกล้พรมแดน "เท็กซัส-เม็กซิโก" ในวันพุธนี้...

        สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ว่า ผลพวงจากเฮอร์ริเคน "อเล็กซ์" ทำให้ความพยายามในการเก็บกวาด เผาทำลาย และจำกัดพื้นที่ของคราบน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกต้องล่าช้าลง เนื่องจากเกิดพายุลมแรง และคลื่นทะเลที่ก่อตัวสูงขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติการต่อไปไม่หยุดยั้ง แม้จะได้รับผลกระทบก็ตาม

        พายุ "อเล็กซ์" เป็นเฮอร์ริเคนลูกแรกของฤดู ที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมัทรแอตแลนติก ขณะนี้ความรุนแรงอยู่ระดับที่ 1 และคาดว่าจะส่งผลให้ฝนตกหนักครอบคลุมพื้นที่ใกล้พรมแดน "เท็กซัส-เม็กซิโก" ในวันพุธนี้

        สำหรับน้ำมันดิบที่ไหลทะลักในอ่าวเม็กซิโก มีปริมาณราว 25,000 บาเรล/วัน ด้านบริษัทบีพี เจ้าของแท่นขุดเจาะดังกล่าวแจงว่า จะสามารถบรรเทาการรั่วไหลได้ตามเป้าหมายราวต้นเดือน ส.ค.นี้.