Sunday, August 2, 2009

แนวโน้มด้านพลังงานในอนาคต(ตอนที่1)

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมจะมาเกริ่นเรื่องแนวโน้มด้านพลังงานในอนาคตนะครับ ว่าจะเป็นอย่างไร


พลังงานเชื้อเพลิงประเภท ฟอสซิล จะต้องยุติลง
ปัจจัยหลักการดำรงชีพ พลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด เดิมด้วยพัฒนาการของ
มนุษย์จากอดีตที่อยู่ในถ้ำ มีความจำเป็นเพียงใช้พลังงาน สำหรับหุงต้มหาอาหาร
ความฉลาด ของมนุษย์ต่อมาทำให้ มีความสามารถนำพลังงานต่างๆ ตั้งแต่ฟืน
ถ่าน ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซ มาใช้อำนวยความสะดวกสบาย ด้านต่างๆมากขึ้น เช่น
ผลิต เป็นพลังงานไฟฟ้า หรือ สำหรับยานพาหนะเพื่อคมนาคม ตามลำดับ

จากป่าไม้นำมาใช้เป็นฟืน ถ่านเริ่มหมดไป ปัจจุบันน้ำมันดิบเริ่มพร่องไปอีกคาดว่า
ราว 60 ปี ข้างหน้าอาจเกิดขาดแคลน ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกได้รุนแรงขึ้น
แม้ว่าวันนี้ถ่านหิน และก๊าซ อาจยังพอมีอยู่ แต่ภายในอีกไม่กี่ร้อยปี จะเข้าสู่ภาวะ
ขาดแคลนเช่นกัน

สิ่งที่ประจักษ์ก่อนที่จะขาดแคลนไปทั้งหมด เข้ามาเกี่ยวข้องคือ ปัญหาของเรื่อง
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก ปริมาณเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง ประเภท
ฟอสซิลปริมาณสูงขึ้นมาก ก๊าซคาร์บอนเป็นปรากฏการณ์ ปฏิกิริยาเรือนกระจก
ทำให้อุณหภูมิโลกสูง จึงเกิดการรณรงค์เพื่อให้ ลดการใช้พลังงานที่เป็นปัญหาต่อ
โลก มีแนวโน้มเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ จากประชาคมโลก

แม้ว่าเราอาจมีพลังงานน้ำจากเขื่อน เพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ก็ไม่เพียงพอต่อ
อัตราการ เพิ่มอย่างรวดเร็วของประชากร การสร้างเขื่อนเพิ่ม เป็นประเด็นมีฝ่ายที่
เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ตลอดเวลา ด้วยเรื่องที่อาจกลายเป็นการทำลายระบบ
นิเวศอันเหลืออยู่อย่างน้อยนิด ในแต่ละประเทศเมื่อเทียบอัตราส่วนประชากร

ทางออกเรื่องสร้างโรงฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ยังมีการคัดค้าน อย่างกว้างขวางมาก
เนื่องจากมีอัตราความเสี่ยงสูง ต่อเนื่องอีกนับหลายพันปี ของกัมมันตรังสีซึ่งไม่
สามารถทำลายให้สิ้นซาก เป็นทางออกเริ่มตีบตัน ต่อการหาพลังงานทดแทน

ด้วยเหตุผลดังกล่าว หากเกิดการยุติหมดลง ของเชื้อเพลิง และหาทางออกใหม่
ไม่ได้ชัดเจน ประชากรต้องประสบวิกฤต เรื่องพลังงาน ส่งผลต่อไปยังระบบการ
ดำรงชีพอย่างแน่นอน
ความเป็นอยู่ในอดีตมนุษย์ 4,000 ปีที่แล้ว จากหลักฐานทางโบราณคดี
ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก มี 480 แห่งใน 44 ประเทศ เมื่อ ปี ค.ศ.1986
โรงผลิตไฟฟ้า Chornobyl nuclear power station (USSR, Ukraine) เกิดระเบิด
มีผู้เสียชีวิต 31 คน บาดเจ็บพิการ จากกัมมันตรังสี 1,000 คนในทันที และต้อง
อพยพทิ้งบ้านเรือน 135,000 คน หลังจากเกิดเหตุไปแล้ว ประมาณว่ามี ผู้เสียชีวิต จากโรคมะเร็งภายหลัง ราวนับหมื่นราย

อีกนับร้อยแห่งจะยังไม่เกิดปัญหาเช่นนี้ ก็คงไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย 100%
เพราะกัมมันตรังสี อาจรั่วออกมาปะปนในอากาศได้ตลอดเวลา สู่ชั้นบรรยากาศ
ผสมกับฝนตกลงเป็นฝนกรด บางแห่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใต้ดิน Yucca Mountain
ในอเมริกามีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้ำใต้ดิน โดยแทบไม่ทราบล่วงหน้าเลย
การแผ่กระจาย รังสีเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง

ในทางทฤษฎี การขจัดทิ้งปริมาณมากๆของ Uraniun แม้ว่ามีระบบที่ฝังลงสู่ใต้ชั้น
ลึกของดินก็ตาม การแผ่กระจายของรังสี อาจมีผลกระทบอนาคตในระยะยาวพันปี
โดยยังไม่เข้าใจถ่องแท้ การขจัดสิ่งเหลือใช้ของกากกัมตรังสีมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาด้านพลังงานด้วยการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ใช่
ทางออกที่ดีต่อประชากรโลกโดยรวม กลับอาจนำปัญหาใหญ่หลวงมาสู่ประเทศ
นั้นๆได้ จึงเป็นเรื่องกังวลใจต่อกรณีนี้เสมอมา

และเชื่อว่าโอกาส ได้รับความเห็นชอบจากประชากรแต่ละประเทศ น้อยลงทุกวัน
Chornobyl nuclear power station (USSR, Ukraine) เกิดปัญหาเมื่อ ค.ศ. 1986


ขอขอบคุณ SunFlowerCosmos เดี๋ยวเราจะมาต่อกันนะครับ อ่านวันละน้อย ดีกว่าจะอ่านทีเดียวครับ



แนวโน้มด้านพลังงานในอนาคต(ตอนที่1)

แนวโน้มด้านพลังงานในอนาคต(ตอนที่2)

แนวโน้มด้านพลังงานในอนาคต(ตอนที่3)

แนวโน้มด้านพลังงานในอนาคต(ตอนที่4) 

แนวโน้มด้านพลังงานในอนาคต(ตอนที่5) 

แนวโน้มด้านพลังงานในอนาคต(ตอนสุดท้าย)

No comments:

Post a Comment