Saturday, August 1, 2009

นิยามของแร่ และ รูปคุณสมบัติของแร่(ต่อ)

อันนี้ต่อจากเมื่อวานนะครับ เอามาต่อให้จบเรื่องที่แล้วกัน

Cleavage
บ่งบอกจากการกะเทาะ อาจพบได้มีแร่บางชนิดไม่แสดงรอยกะเทาะ
นับว่าเป็นเรื่องแปลก ส่วนใหญ่จะพบรอยแตก เช่น แตกตามซอก รอยร้าวคล้าย
แก้วร้าว ความขรุขระไม่สม่ำเสมอของผิว หรือเหลียมแหลมเป็นเรื่องปกติ
ของแร่บนโลก ที่เกิดแตกกะเทาะมีรอยแตก

Electrical conductivity
บ่งบอกความสามารถ เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า (จากภายนอก) หรื ความร้อน เช่น
Metallic elements (ส่วนประกอบของเกร็ดโลหะในแร่) มีความสามารถ
สื่อไฟ ฟ้าจากภายนอกได้ดีกว่า Silicates

ปัจจุบัน พบว่าแร่สามารถสื่อไฟฟ้าด้วยตัวเองได้ มีเงื่อนไขกลไกสื่อ
พาดผ่านกันสร้างความกดดัน (Piezoelectricity) ประจุไฟฟ้าในระบบผลึก
อยู่ระหว่างด้านแต่ละด้าน เมื่อสื่อวิ่งผ่านอย่างเป็นระเบียบและสม่ำเสมอ
ของ Atomic ในโครงสร้างการขยายตัวของการแผ่จากผิวหน้า

อาจมีความแตกต่างกันแล้วแต่กรณี เรารู้ว่า Quartz (SiO2) เป็นผลึกแร่
ชนิดที่มีความสามารถเป็นสื่อกระแสไฟฟ้าด้วยตัวเอง และพบว่าแร่ทุกชนิด
ที่มีองค์ประกอบของ Quartz แสดงผลได้เช่นเดียวกัน

หมายเหตุ : การพบแร่มีการสื่อไฟฟ้าด้วยตัวเอง เป็นงานค้นคว้าด้าน
วิทยาศาสตร์แขนงใหม่ อาจยังไม่เป็นที่แพร่หลายในหลักเกณฑ์แบบเก่า
ร่องรอยแตก กระเทาะจากลักษณะรูปทรงของแร่
แร่ สามารถสื่อไฟฟ้าด้วยตัวเองได้
Specific Gravity หรือค่า S.G.
บ่งบอกถึงน้ำหนักวัตถุ ซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของโลก โดยยกตัวอย่าง
หากแร่เงิน หนึ่งก้อน มีน้ำหนักเท่าน้ำ 1 ถัง เท่ากับ 10 ส่วน
แต่แร่ Calcite ในปริมาตรเดียว กันมีน้ำหนักเพียง 2 ½ ของ 10 ส่วน
หมายความ แร่เงินย่อมมีความหนักกว่าแร่ Calcite โดยสามารถวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย
จากน้ำหนักแร่ได้ ตัวอย่างดังนี้

เบามาก..........................< 2 S.G. เช่น Borax
เบา.................................2 - 2.5 S.G เช่น Gypsum, Halite, Selenite
ปานกลาง……………………...2 - 3.0 S.G เช่น Calcite, Dolomite, Feldspar
หนักกว่าปานกลางเล็กน้อย...3 - 4.0 S.G เช่น Biotite mica
หนัก…………………………….4 - 5.0 S.G เช่น Almandine garnet , Apatite
หนักมาก……………………....5 - 10.0 S.G เช่น Galena, Hematite, Pyrite
หนักมากอย่างชัดเจน ……….> 10 S.G เช่น Gold, Silver
หนักที่สุด………………………20 +10 S.G เช่น Platinum
ซ้าย : แร่ Borax (เบาที่สุด) ขวา : แร่ Platinum (หนักที่สุด)
Streak
บ่งบอกลักษณะเส้นลายพาดเป็นทางๆ เมื่อนำแร่มาเจียระไนหรือขัดผิวออกจะพบ
ลายเกิดขึ้นเรียกว่า Streak สีลายที่มองเห็นมีลักษณะสีเดียวกับแร่ชิ้นเดิมเสมอ
เหตุพราะภายในแร่ อากาศไม่สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงแร่นั้นๆได้
ตัวอย่าง เช่น

Quartz (White streak) Amethyst (Violet streak) Rose quartz (Pink streak) Smoky quartz (Brown streak)
Amethyst (สีม่วง) Rose quartz (สีชมพู) นำมาเจียรระไนยังเป็นชิ้นที่มีสีลวดลายเดิม
ถึงแม้จะมีข้อบ่งถึงรูปสมบัติของแร่ ตามที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีหลักเกณฑ์พิเศษ
อีกหลายประการ ใช้ในห้องปฎิบัติการหรือผู้เชี่ยวชาญโดย อาศัยเครื่องมือ
ที่ซับซ้อนเพื่อการวิเคราะห์ และความพิเศษ ความแปลกของแร่
ยังมีเป็นจำนวนมากที่นักธรณีวิทยาเองไม่รู้จัก
s
ภาพการวิเคราะห์ Atom และชั้นผิวแร่ Sphalerite ในห้องปฏิบัติการช่วยให้เราเข้าใจแร่มากขึ้น
รูปทรง Cube และ Octahedron ของแร่ Marcasite ก่อตัวกับแร่ Sphalerite มีความซับซ้อนขึ้น
การตรวจแยกแยะรูปสมบัติระหว่าง แร่และหิน บางกรณีอาจต้องมีความชำนาญ
ต้องมีความเข้าใจ เรื่องโครงสร้างของโลกเป็นเบื้องต้นและความเข้าใจถึง
ระบบการก่อตัวของหินแต่ละยุค เวลาพัฒนาการกำเนิดโลก ความรู้ด้านเคมี ฯลฯ
ประกอบด้วย ปัจจุบันการตรวจสอบแร่ในห้องปฎิบัติการเป็นวิธีที่เชื่อถือได้มากที่สุด
ตัวอย่าง แร่ที่พบในหลายทวีป ซึ่งเรายังไม่รู้จัก
ตัวอย่าง แร่ที่พบในหลายทวีป ซึ่งเรายังไม่รู้จัก


ขอบคุณ SunflowerCosmos เช่นเคยครับ

No comments:

Post a Comment