Sunday, September 27, 2009

ขนาดของแผ่นดินไหว

ขนาดของแผ่นดินไหว มนุษย์เรามีประสบการณ์การเกิดแผ่นดินไหวมานานนับพันปี แต่เพิ่งจะมีระบบที่แม่นยำในการวัดขนาด และพลังร้ายแรงของแผ่นดินไหว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478)เท่านั้น ในปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) ชาร์ล ริกเตอร์ (Charles Richter) สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอเนีย (California Institute of Technology) ได้นำเสนอแนวคิดของ ขนาดของแผ่นดินไหว (earthquake magnitude) ซึ่งขนาดของแผ่นดินไหวนี้ เป็นการวัดค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวด้วยมาตราริกเตอร์ ด้วยมาตราริกเตอร์นี้ ขนาดของแผ่นดินไหวจะหาค่าออกมาด้วยการวัดความสูงของคลื่น (amplitude) ที่ใหญ่ที่สุดที่ไซสโมแกรมบันทึกไว้ และเพื่อให้สถานีตรวจจับแผ่นดินไหวทั่วโลก ได้ขนาดของแผ่นดินไหวเดียวกันในค่าที่เท่ากัน ต้องมีการปรับคลื่นแผ่นดินไหวที่ได้ เนื่องจากการระยะทางการเคลื่อนที่ของคลื่นจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว (epicenter) ของแต่ละสถานีไม่เท่ากัน




แผ่นดินไหวมีความต่างกันที่ขนาด แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ชายฝั่งเกาะสุมาตรา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 มีความรุนแรงขนาด 9.0 ตาม
มาตราริกเตอร์ และนับเป็นแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดเป็นอันดับที่ 4 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443) ขนาดของความรุนแรงครั้งนี้ เทียบได้กับการระเบิดของ TNT ขนาดพันล้านตัน ในทางกลับกันถ้าเป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาด 2.0 ตามมาตราริกเตอร์แล้ว มนุษย์เราแทบไม่รู้สึกด้วยซ้ำไปว่ามีการเกิดแผ่นดินไหว มาตราริกเตอร์มีความสามารถในการที่จะจัดการกับความรุนแรงของแผ่นดินไหวขนาดต่างๆ ทั้งน้อยมากๆ ไปจนรุนแรงเสียหายมากได้ มาตราริกเตอร์นั้น ไม่ได้มีมาตรส่วนแบบเส้นตรงหรือลิเนียร์สเกล แต่หากเป็นแบบมาตราส่วนแบบลอกกาลิทึม เมื่อความกว้างหรือแอมปลิจูดของคลื่นเพิ่ม 10 เท่า จะทำให้มาตรวัดตามมาตราริกเตอร์เพิ่มขึ้น 1 หน่วย เช่น จาก 6.0 ไปเป็น 7.0 เป็นต้น และจากการเพิ่มขึ้นความรุนแรงแผ่นดินไหว 1 หน่วยมาตราริกเตอร์นั้นพลังงานที่ปล่อยออกมาจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เท่า ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่ความรุนแรง 7.5 ตามมาตราริกเตอร์ จะปล่อยพลังงาน 30 เท่าของพลังงานที่ปล่อยออกมาเมื่อแผ่นดินไหวที่ 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ และ ที่ 7.5 ก็จะปล่อยพลังงาน 900 เท่าของพลังงานที่ปล่อยออกมาเมื่อแผ่นดินไหวมีความรุนแรงที่ 5.5 ตามมาคราริกเตอร์

No comments:

Post a Comment