Sunday, September 27, 2009

เครื่องวัดความไหวสะเทือนทำงานอย่างไร

เครื่องวัดความไหวสะเทือนทำงานอย่างไร




การศึกษาการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวเรียกว่า ไซสโมโลจี (seismology) ไซสโมกราฟ (seismographs) เป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกคลื่นของแผ่นดินไหว เครื่องไซสโมกราฟนี้ มีหลักการง่ายๆคือ ให้มีตุ้มน้ำหนักห้อยแบบอิสระ อยู่บนตัวยึด (ดูภาพประกอบ)โดยตุ้มนี้จะแตะกับชั้นหินแข็งชั้นล่าง (bedrock) เมื่อมีคลื่นการไหวสะเทือนของแผ่นดินผ่านเข้ามา (แม้ว่าการเกิดแผ่นดินไหวอาจอยู่ห่างจากจุดวัดก็ได้) ก็จะส่งแรงผ่านตุ้มน้ำหนัก และผ่านตัวยึด เนื่องด้วยตุ้มน้ำหนักมีความเฉื่อย ทำให้ตัวมันไม่เคลื่อนที่แต่จะส่งแรงที่ได้รับจากเปลือกโลกไปทำให้ตัวยึดสั่น แรงไหวของแผ่นดินก็จะบันทึกลงบนแผ่นหมุน ซิสโมกราฟนี้เป็นตัวขยายและบันทึกการเคลื่อนไหวของแผ่นดินนั่นเอง ข้อมูลที่ได้จากเครื่องไซสโมกราฟ นี้เรียกว่า ไซสโมแกรม ซึ่งให้ข้อมูลการเคลื่อนไหวของแผ่นดินมากมาย ทำให้เรารู้ว่าคลื่นแผ่นดินไหว (seismic wave) มี สองแบบใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อแผ่นดินเลื่อนออกจากกันตรงบริเวณรอยเลื่อน อันได้แก่ คลื่นผิวพื้น (surface wave) และ คลื่นหลัก (body wave)


1 comment: