Thursday, September 3, 2009

ทฤษฎีการยืด – หด (Elastic Rebound Theory)

ทฤษฎีการยืด – หด (Elastic Rebound Theory)

การค้นพบสาเหตุของแผ่นดินไหวที่แท้จริงนั้นเริ่มจาก เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ที่ เมืองซานฟรานซิสโกในปี ค.ศ. 1906 (พ.ศ. 2449) รอยเลื่อนซาน อานเดรส (San Andreas Fault) ที่มีความยาว 1,300 กิโลเมตร มีรอยเลื่อนตามแนวแยกเหนือ-ใต้ ทางตะวันตกของรัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยรอยเลื่อนนี้ แยกแผ่นเปลือกโลกออกเป็นสองแผ่นคือแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ และแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก การศึกษานี้นับได้ว่าเป็นการศึกษาระบบรอยเลื่อนอย่างจริงจังที่สุดในโลก โดย เอช เอฟ เรอิด (H.F. Reid) หลังจากแผ่นดินไหวใหญ่ในรัฐแคลิฟอเนีย อเมริกาในปี ค.ศ. 1906 (พ.ศ. 2449) ในการศึกษานี้ เรอิด (Reid) ได้พบว่า 50 ปี ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ปี ค.ศ. 1906 ที่แนวรอยเลื่อนซาน อานเดรส มีแผ่นเปลือกโลกเลื่อนประมาณ 3 เมตรกว่า แต่ในปี 1906 นั้นรอยเลื่อนเดียวกันนี้มีรอยยาวมากถึง 4.7 เมตร มีแนวเลื่อนไปทางทิศเหนือ ผ่านแผ่นเลือกโลกอเมริกาเหนือที่อยู่ติดกัน เรอิด สรุปว่า แรงดันที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเลื่อนไปคนละทางนั้น ทำให้หินที่อยู่ตรงรอยเลื่อนงอตัวและสะสมพลังงานอิลาสติคไว้ คล้ายๆกับแท่งไม้ที่เราจับให้งอในที่สุดแรงต้านความเสียดทาน ที่ช่วยให้หินที่งอยังไม่หักออกจากกัน ก็ต้านไว้ไม่ไหว หินในส่วนที่อ่อนแรงที่สุดก็แยกจากกัน จุดนี้เรียกว่าโฟกัส (focus) และส่วนอื่นๆของรอยเลื่อนที่ต้านไม่ไหวจุดต่อๆไปก็แยกจากกัน จน
กระทั่งพลังงานได้รับการปลดปล่อยจนหมด และหินที่แยกจากกันนี้จะคืนตัวกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิม ช่วงการคืนตัวนี้ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่เรียกว่าแผ่นดินไหวนั่นเอง ปฏิกิริยาการคืนตัวเข้าที่ของหินที่แยกจากกันนี้ เรอิด เรียกว่า elastic rebound (การยืด – หด) เพราะหินจะคืนตัวหรือ เด้ง กลับมาคล้าย คล้ายกับที่เราดึงยืดยางหนังสติ๊กแล้วปล่อย มันจะเด้งกลับเป็นรูปเดิม ปรากฏการณ์นี้มีลักษณะเดียวกัน

No comments:

Post a Comment