จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวหรือเอพิเซน เตอร์นี้ เป็นจุดที่อยู่บนผิวโลก โดยอยู่เหนือและตรงกับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่อยู่ภายในโลก (ดูภาพประกอบ) จุดที่เป็นเอพิเซนเตอร์ของการเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง สามารถหาตำแหน่งได้จากการหาค่าต่างของความเร็วคลื่น P และคลื่น S จากการที่เรารู้ว่า คลื่น P เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าคลื่น S นั้น เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน และ ไซสโมแกรมก็จะบันทึกคลื่น P ได้ก่อนคลื่น S ช่วงห่างของคลื่น P แรก กับ คลื่น S แรก บ่งบอกถึงระยะห่างของจุดที่กำลังวัดค่ากับ เอพิเซนเตอร์
ข้อมูลที่รวบรวมได้จากไซสโมแกรมนี้ นักวิจัยสามารถพัฒนากราฟแสดงเวลาการเดินทาง (travel–time graph) ของคลื่นแผ่นดินไหวนี้ได้ และด้วยข้อมูลเวลานี้ ปัจจุบันนักวิจัยสามารถคำนวณระยะทางจากจุดที่วัดแผ่นดินไหวต่างๆ กับจุดเอพิเซนเตอร์ได้ โดยเริ่มจากการคำนวณหาเวลาที่ต่างกันระหว่างคลื่น P แรก และ คลื่น S แรก จากนั้นการใช้กราฟแสดงเวลาการเดินทาง (travel–time graph) ก็จะสามารถนำค่าเวลาที่ได้ในตอนแรกมาเทียบหาเป็นระยะทางได้ เมื่อทราบระยะทางระหว่างจุดเอพิเซนเตอร์ กับ จุดตรวจจับแผ่นดินไหวที่ติดตั้งไซสโมแกรมแล้ว ก็จะต้องคำนวณหาพิกัดตำแหน่งของจุดเอพิเซนเตอร์ได้ ทั้งนี้จะต้องมีจุดตรวจจับแผ่นดินไหวที่ติดตั้งไซสโมแกรมอย่างน้อย สามแห่ง (ดูภาพปะกอบ) บนโลกจะมีศูนย์ตรวจจับแผ่นดินไหว วงกลมที่ขีดขึ้นจะอยู่รอบศูนย์ฯ รัศมีของวงกลมแต่ละวงจะแสดงระยะทาง ระหว่าง ศูนย์ฯ แต่ละศูนย์ฯ กับจุดเอพิเซนเตอร์ จุดที่วงกลม สาม วงขึ้นไปนั้นตัดกันคือ จุดเอพิเซนเตอร์ของแผ่นดินไหวครั้งนั้นๆ นั่นเอง อย่างไรก็ดี จากที่เรารู้กันดีแล้วว่า 95% ของการปลดปล่อยพลังงานของโลกอยู่บริเวณแนวแคบ (narrow zone) ไม่กี่แห่งบนโลก ทำให้การคำนวณหาจุดเอพิเซนเตอร์ไม่ยากเท่าใดนัก
No comments:
Post a Comment