Sunday, July 26, 2009

ตำนานคำว่า Earth

สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุำกคน วันนี้มีเรื่องจะมาเล่า เพื่อนๆ รู้รึป่าวว่าคำว่า Earth มาจากไหนใครเป็นคนตั้งชื่อมัน อยากรู้ม่ะ ถ้าอยากรู้เรามาดูกันเลยครับ




ตำนานคำว่า Earth

เดิมตั้งแต่ ค.ศ. 1543 Nicolaus Copernicus (ค.ศ.1475-1543) เป็นผู้เผยแพร่
คำว่า Earth (โลก) และอธิบายทางทฤษฎีว่า โลก คือ ดาวเคราะห์มีดวงอาทิตย์
เป็นศูนย์กลาง ของระบบสุริยะ (Modern heliocentric model) และโลกมีสันฐาน
กลมมิใช่แบนราบดังที่เคยเข้าใจ ซึ่งผู้คนโบราณยุคนั้น เพียงทราบคำว่า Earth
มาจากศัพท์โบราณ

กระทั่งพันปีที่ผ่านมา มีหลักฐานในภาษาอังกฤษโบราณ Eorth มีความหมายว่า
Earth (โลกซึ่งเป็นวัตถุ) Ground (พื้นผิวโลก) และ Dirt (ละอองฝุ่นสกปรกที่
เกิดจากโลก) ภายหลัง มีความหมายว่า Land (จากความคิดของกะลาสีเรือ)
ให้เป็นคำตรงข้ามกับ Water (น้ำ)

สำหรับในภาษาลาติน คำว่า Terra (พระธรณี) ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำว่า Earth
แต่มีนัยของความหมาย จากประวัติศาสตร์ ว่า Land (หมายถึง อาณาเขตของ
แผ่นดินในความคิดด้านภูมิศาสตร์ หรือ การปกครอง) เช่น แผ่นดินนี้อยู่ภายใต้
การปกครองของกษัตริย์ บางกรณีใช้คำอ้างอิงใน เรื่องภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
เรื่องเพ้อฝันนวนิยายวิทยาศาสตร์ และเรื่องอภินิหารต่างๆ ซึ่งพบในภาษา Latin
Italian - Catalan – Portuguese


Nicolaus Copernicus และภาพอธิบายเรื่อง Modern heliocentric model


ทวีป Eurasia เส้นทางภาษา Indo-European ก่อนคริสตกาลราว 1500 ปี


ต้นทางคำว่า Earth

โดยแท้จริงเดิม Earth มาจากคำว่า er จาก Indo-European เป็นภาษาที่ใช้ก่อน
ยุค 2,500 ปีก่อนคริสตกาล ใช้พูดกันในแถบยุโรปผ่านมาถึงเอเชียใต้ และในแถบ
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้เกี่ยวดองกัน โดยมีการประกอบคำใหม่จากผู้คนรุ่นหลังพบ
ในภาษากรีกโบราณ และภาษาในชนพื้นเมืองกลุ่ม Celtic ในยุโรป จึงถือว่าคำว่า
Earth เป็นคำเรียก ครั้งแรกจาก ชนเผ่าโบราณแถบยุโรป

หมายเหตุ ภายหลังไม่กี่ปีนี้ ได้พบหลักฐานใหม่ว่า ภาษา Indo-European มาจาก
แหล่งกำเนิดดั้งเดิม ในประเทศ Turkey จากการจัดกลุ่มภาษา คำกริยา จำนวน
87 ภาษา ระหว่างช่วงเวลา 8,000-9,000 ปี ที่ผ่านมา

สำหรับความหมายคำว่า Earth ได้ถูกแปลความหมายใน ภาษาไทยคือ โลก นั้น
กำหนด และขยายความเป็นทางการไว้ดังนี้


พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน

คำว่า โลก (นาม) หมายถึง แผ่นดิน โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ เช่น ให้โลก
นิยม หรือ ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก โลก-
พระอังคาร หรือ ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ในระบบสุริยะเป็น
ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12,755 กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้ว
โลกยาว 12,711 กิโลเมตร มีเนื้อที่บนผิวโลก 510,903,400 ตารางกิโลเมตร

พจนานุกรมฉบับพิศดาร (สมพร เจริญพงศ์)

คำว่า โลก (นาม) หมายถึง แผ่นดิน (อุปมา เปรียบเทียบ) หมายถึง กลุ่มชน ส่วน
หนึ่งของสกลจักรวาล เช่น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก โลกพระอังคาร สภาวะ
เหมือนโลก เช่น โลกมืด โลกของเด็ก



การแต่งกายแบบชนพื้นเมืองกลุ่ม Celtic ในยุโรป แถบประเทศอังกฤษยุคโบราณ


ลักษณะทวีปบนพื้นโลกเมื่อกว่า 250 ล้านปีก่อน


Pangaea Theory ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงธรณีภาคโลก


นอกจากนั้น ในตำราแต่ละแขนง มีการอธิบาย คำว่า Earth แตกต่างกันในราย
ละเอียดบ้างเล็กน้อย โดยขึ้นอยู่กับการเน้นข้อมูลที่เกี่ยวโยงในแต่ละแขนง เช่น


Collins English (New edition)

Earth หมายถึง ดาวเคราะห์ลำดับที่ 3 จากดวงอาทิตย์ ซึ่งทราบว่าเป็นดาวเคราะห์
ที่สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้น มีลำดับชั้นทางธรณีวิทยา (Geological zones) 3 ส่วนเริ่ม
จาก ด้านในสุด คือส่วนประกอบของ แกนไส้ (Core) เนื้อโลก (Mantle) และ พื้น
บางเปลือกนอก (Outer crust) บนพื้นผิว (Surface) ปกคลุมด้วยพื้นน้ำขนาดใหญ่
ห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ (Atmosphere) ส่วนใหญ่ของก๊าซ Nitrogen 78% -
Oxygen 21% และไอน้ำ อายุมากกว่า 4 พันล้านปี

มีตำแหน่งระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 149.6 ล้านกิโลเมตร ระยะเส้นผ่าศูนย์กลาง
แนวศูนย์สูตร(Equatorial) 12,756 กิโลเมตร มีมวล (Mass) 5.967 x 10 [24] กิโลกรัมหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 23.56.04 ชั่วโมง โคจรรอบดวงอาทิตย์
1 รอบใช้เวลา 362.256 วัน (หมายเหตุ มีคำว่าที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันคือ
Terrestrial- Tellurian – Telluric - Terrene)


Oxford University


Oxford Earth Sciences

Earth หมายถึง ดาวเคราะห์ลำดับที่ 3 จากดวงอาทิตย์ มีตำแหน่งระยะห่างจาก
ดวงอาทิตย์ 149.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นนับเป็นหน่วยวัดตามมาตรฐาน เท่ากับ
1 AU.(Astronomical unit) ประกอบด้วย มีเส้นรัศมี (Radius) 6,371 กิโลเมตร
ความหนาแน่น (Density) 5,517 กก./ตรม. มีมวล (Mass) 5.99 x 10 [27] กรัม

[1] มีภาวะไม่ต่อเนื่อง (Discontinuity) ของมหาสมุทรหนา ระดับ 5-7 กิโลเมตร
มีพื้นดินหนา 40 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับเปลือกโลกและระยะห่างความไม่สม่ำเสมอ
จาก Silicate เนื้อโลก (Mantle) เป็นองค์ประกอบ

[2] มีภาวะไม่ต่อเนื่อง (Discontinuity) ในความลึก 2,900 กิโลเมตร ของเนื้อโลก
(Mantle) ที่ทับอยู่ด้านบนของ Iron-rich Core (แกนชั้นถัดไป)

[3] มีหินเก่าแก่อายุราว 3,980 ล้านปี จากอายุก่อกำเนิดโลกราว 4.6 พันล้านปี

Oxford Physics Earth

หมายถึง ดาวเคราะห์ที่โลกจรรอบดวงอาทิตย์ มีตำแหน่งระหว่าง ดาวศุกร์และดาว
อังคาร ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 149.6 ล้านกม. มีมวล (Mass) 5.967 x 10 [24]
กิโลกรัม รอบวงแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial) 12,756 กิโลเมตร

ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ Gaseous atmosphere (อากาศธาตุในชั้นบรรยากาศ)
Liquid hydrosphere (ของเหลวในส่วนที่เป็นผิวน้ำ) และ Solid lithosphere
(ของแข็ง ในส่วนธรณีภาค) โดยของแข็ง มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ

Crust (เปลือกโลก) มีความหนา 32 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ใต้แผ่นดินและมหาสมุทร
ลงไป 10 กิโลเมตร

Mantle (เนื้อโลก) มีความลึก 2,900 กิโลเมตร อยู่ต่ำลงไปด้านใน และมี Core
(แกน) ซึ่งเชื่อว่ามีส่วนประกอบ ของของเหลว

Crust (เปลือกโลก) มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความหนาแน่น (Density) อย่าง
กว้างขวางกับ หินตะกอน (Sedimentary) ซึ่งนอนทับซ้อนบน หินอัคนี (Igneous)
โดยองค์ประกอบ ของเปลือกโลก ประกอบด้วย Oxygen 47% - Aluminium 8%
Iron 4.5% Calcium 3.5% - Sodium และ Potassium (อย่างละ) 2.5%
Magnesium 2.2% และ Hydrogen – Carbon – Phosphorus – Sulphur
ทั้งหมดน้อยกว่า 1%

เชื่อว่า Mantle (เนื้อโลก) มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความหนาแน่น (Density)
ในระดับความลึกขีดสูงสุด ราว 5.5 ที่เกิดจาก หิน Silicate และมีความสัมพันธ์
เกี่ยวข้องกับความหนาแน่น (Density) กับ Core (แกน) ในระดับความลึกขีดสูง
สุด ราว 13 โดยมีอุณหภูมิ ที่ 6,400 k

Oxford Astronomy Earth

หมายถึง ดาวเคราะห์ลำดับที่ 3 จากดวงอาทิตย์ โดยมีระยะใกล้ดวงอาทิตย์ ที่สุด
(At Perihelion) ในเดือนมกราคม 147,099,590 กิโลเมตร และมีระยะห่างดวง
อาทิตย์ ที่สุด (At Aphelion) ในเดือน กรกฎาคม 152,096,150 กิโลเมตร มีดวง
จันทร์เป็นดาวบริวาร

หากมองโลกระยะไกลมาก ในอวกาศจะเห็นเป็นสีน้ำเงินเข้มๆ เหตุจากบรรยากาศ
ที่ปกคลุม โลกมีรูปทรงสันฐาน แบบ Slightly ellipsoidal (ทรงรีเล็กน้อย) ระยะ
เส้นผ่าศูนย์กลางแนวศูนย์สูตร (Equatorial) 12,756 กิโลเมตร ระยะเส้นผ่าศูนย์
กลางแนวขั้วโลก (Polar) 12,714 กิโลเมตร และมีอายุ 4.57 พันล้านปี

ชั้นบรรยากาศประกอบด้วย (โดยปริมาตร) Nitrogen 78% - Oxygen 21%
และArgon 0.9% นอกจากนั้น มีส่วนประกอบของ Carbon dioxide – Hydrogen
และก๊าซอื่นๆซึ่งมีจำนวนน้อย และมากบ้างโดยไอน้ำแสดงออกมาก-น้อยเช่น
เดียวกัน (ไม่แน่นอน)

โดยเมฆสีขาวบนท้องฟ้า เป็นการควบแน่นไอน้ำ ครอบคลุมในแถบเส้นศูนย์สูตร
และขั้วโลกทั่วไป ค่าเฉลี่ยความกดดันชั้นบรรยากาศ และพื้นเหนือระดับน้ำทะเล
มีความผันแปร ราว 1,000 mbar

อุณหภูมิพื้นผิว เฉลี่ย 15 องศา C (โดยคิดค่าเฉลี่ยจากฤดูหนาวในไซบีเรีย -50
องศา C และ ฤดูร้อนในทะเลทรายซาฮารา +40 องศา C)

พื้นผิวโลกถูกปกคลุม ไปด้วยของเหลว 71% มีภูเขาไฟ ปากปล่องภูเขาไฟบน
พื้นดินมากกว่า 500 แหล่งที่ยังมีปฎิกิริยาอยู่ มีร่องรอยถูกชนปะทะจากอุกกาบาต
เป็นจำนวนมาก แต่ถูกกลบหายไปจากสภาพการเปลี่ยนแปลงด้วยสภาพอากาศ
บนพื้นผิว ด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน

โดยพบหลักฐานชี้ชัด จำนวน 160 แหล่ง เป็นร่องรอยซึ่งเก่าแก่ หลุมแอ่งใหญ่
ในทางธรณีวิทยา พื้นผิวโลกที่เป็นหลุมแอ่งใหญ่ ภายหลังกลายเป็นที่เก็บกักน้ำ
เกิดเป็นพัฒนา การสภาพแวดล้อมและชีวิต

Crust (เปลือกโลก) ชั้นบนสุดของโลกมีความหนาราว 70 กิโลเมตร และบางส่วน
ของมหาสมุทรลึกลงไป 150 กิโลเมตรจากพื้นดิน ชั้น

Mantle (เนื้อโลก) มีความลึก ราว 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบ Iron-nickel
ตั้งแต่ครั้งกำเนิดโลก โดย Core (แกน) เป็นแหล่งสร้างสนามแม่เหล็ก มีความเข้ม
ราว 3 x 10 [-5] tesla (ใกล้แนวเส้นศูนย์สูตร)

ภายใน Mantle (เนื้อโลก) มีการนำพาความร้อนและแผ่นเปลือกโลกบาง จึงเกิด
จุดผุดดันขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง เกิดรอยเลื่อนบนแผ่นเปลือกโลก เอื้อให้
เกิดภูเขาสูง และมหาสมุทรลึก


References :

University of Georgia
University of Auckland
Oxford university
พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน
พจนานุกรมฉบับพิศดาร (สมพร เจริญพงศ์)
Collins English
SunflowerCosmos.org

เป็นไงบ้างครับ สุดยอดมั้ย เอาไว้วันหน้าคอยมาดูต่อว่าจะมีเรื่องอะไรอีกน่ะ

2 comments:

  1. ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้มากมายเลย

    ReplyDelete
  2. ค่อนข้างจะงง

    ReplyDelete